วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

งานราชการทำอย่างไร มีอะไร และทำอะไรบ้าง


พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้แก้ไขปรับปรุงมาจากฉบับ พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกระบบ ซี และตามมาตรา 45 กำหนดให้มีตำแหน่งข้าราชพลเรือน สามัญ 4 ประเภท


“ข้าราชการ มีตำแหน่งอะไรบ้างและทำอะไร”

หน้าที่ของข้าราชการแบ่งได้ตามตำแหน่งที่ครอง หรือพูดง่ายๆว่า ข้าราชการจะทำอะไรได้บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนนั้นรับราชการในตำแหน่งใด เช่น รับราชการเป็นอัยการ ก็ไม่มีสิทธิไปตัดสินคดีใดๆได้ เป็นต้น ประเภทตำแหน่งของข้าราชการ มีดังต่อไปนี้

1.ประเภทบริหาร ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ และรองหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรมและตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนด ตำแหน่งบริหารนี้ มีอยู่ 2 ระดับคือ ระดับต้น กับระดับสูง

- ระดับต้น
- ระดับสูง

2.ประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่า กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนด ประเภทนี้มี 2 ระดับเช่นกัน คือ ระดับต้น และระดับสูง

- ระดับต้นอำนวยการ
- ระดับสูงอำนวยการ

3.ประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ตามที่ ก.พ.กำหนด ประเภทนี้ มี 5 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และทรงคุณวุฒิ

- ระดับปฏิบัติการ
- ระดับชำนาญการ
- ระดับชำนาญการพิเศษ
- ระดับเชี่ยวชาญ
- ระดับทรงคุณวุฒิ


4.ประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ ตำแหน่งบริหาร อำนวยการ วิชาการ ทั้งนี้ตาม ก.พ.กำหนด ประเภทนี้ มี 4 ระดับ คือ

- ระดับปฏิบัติงาน
- ระดับชำนาญงาน  
- ระดับอาวุโส
- ระดับทักษะพิเศษ


รายละเอียดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของแต่ละตำแหน่งข้าราชการพลเรือน เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งที่ได้รับ คุณวุฒิที่รองรับ อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ alt


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น